อาหาร 4 ภาค
อาหาร ภาคเหนือ
ภาคเหนือมีวิถีชีวิตผูกพันกับวัฒนธรรมการปลูกข้าวโดยชาวไทยพื้นราบภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด มี
วัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารขอคนเหนือจะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือ จะมีกริยาที่แซ่มซ้อย จึงส่งผลต่ออาหาร โดยมากมักจะเป็นผัก
อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นหลักอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ และแกงหลายชนิด นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ
สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ แตกต่าง จากภาคอื่น นั้นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก
เช่น น้ำพริกอ่อง แกง ฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำพืชพันธ์ในป่า มาปรุงอาหาร
เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้านชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวก กล้วย แกงบอน
น้ำพริกอ่อง
ข้าวซอย
แกงโฮะ
น้ำพริกหนุ่ม
ไข่อ๊อก
อาหาร ภาคกลาง
ลักษณะอาหารภาคกลางได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ โดยเฉพาะอาหารจาก ในวัง เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม และเปนภาคที่มีอาหารว่าง และขนมมากมาย
ภาคกลางเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลา อาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดปี รวมทั้งมีพืชผัก ผลไม้ นานาชนิด นอกจากนี้ภาคกลางยังเป็นที่ตั้งของเมือง หลวงมานับหลายร้อยปี มีแขกมาบ้านเมืองไปมาหาสู่อยู่ตลอดเวลาและที่สำคัญที่สุดเป็นที่ประทับใจในหลวงในรัชกลาลต่างๆ มีเจ้านายหลายพระองค์รวมทั้งแวดวงชาววัง ซึ่งต่างก็มีส่วนสำคัญในการสร้า่งสรรค์อาหารที่เป้นแบบฉบับของคนกลาง จึงทำให้รสชาติของอาหารภาคนี้ไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะคือมีรส เค็ม เผ็ด
เปรี้ยว หวาน คลุกเคล้าไปตามชนิดต่าง ๆ ของอาหารนอกจากนี้มักจะใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น พวกเครืองเทศ ต่าง ๆ
ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหารมากชนิด
น้ำพริกกะปิ
ต้มยำกุ้ง
แกงเขียวหงาน
ต้มข่าไก่
มัสมั่นเนื้อ
อาหาร ภาคอีสาน
อาหารอีสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาหารของลาว และกัมพูชา ชาวอีสานรับประทานทั้งข้าวเหนียวและ
ข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก อาหารอีสานมีหลากหลายรสชาติทั้งเผ็ดจัด หวานมาก เปรี้ยวมาก และขม บางชนิดมีการผสม
รสชาดทั้งเผ็ดเค็มเปรี้ยวหวานเข้าด้วยกัน
ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่
หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่าง ๆ ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสด
และพริกแห้ง รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง ในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเราะมีปลา
อดุมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้ปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้
มีการพัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายประเทศใปัจจุบัน
- ส้มตำ
- ซุปหน่อไม้
- แจ่วบอง
- ลาบหมู
- ตับหวาน
อาหารภาคใต้
ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นทะเล ชาวใต้นิยมใช้กะปิในการประกอบอาหาร อาหารใต้ไม่ได้มีเพียงแค่ความเผ็ด
จากพริกแต่ยังใช้พริกไทยเพิ่มความเผ็ดร้อนอีกด้วย และเนื่องจากภาคใต้มีชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก ตามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ก็ได้มีอาหารที่แตกต่างกันไป
อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดยโดดเด่นเป็นเอกลักาณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศุนย์กลาง
การเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก อาหารพิ้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะ
ผสมผสานระหว่างอาหารอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ น้ำบูดู ซึ่งได้จากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ด
เกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหามาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าอื่นๆ และด้วยสภาพ
ภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนขึ้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและ
เครื่องจ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจบป่วย
- ข้าวยำ
- สะตอผัดกะปิ
- แกงไตปลา
- ผัดไทยไชยา
- แกงหลือง